ไทย เกาหลีใต้ แลกเปลี่ยนความรู้วางแผนพัฒนาทีมชาติไทย

ไทย

ไทย

ไทย เกาหลีใต้ แลกเปลี่ยนความรู้วางแผนพัฒนาทีมชาติไทย

วันที่ 27 กรกฎาคม 2560 เวลา 11.00 น. ณ ที่ทำการสมาคมฯ ตัวแทนจากสมาคมฟุตบอลเกาหลีใต้ KFA เดินทางมาแลกเปลี่ยนความรู้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค

และ เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนพัฒนาทีมชาติในเรื่องต่างๆ อาทิ การจัดการแข่งขัน และ การเก็บตัวก่อนการแข่งขัน เป็นต้น

การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก มร. พาร์ค อิลกิ ผู้อำนวยการฝ่ายทีมชาติสมาคมฟุตบอลเกาหลีใต้, คุณ พาทิศ ศุภะพงษ์ รองเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศและโฆษกสมาคมฯ

พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเทคนิคและต่างประเทศสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ร่วมประชุม

ภายหลังการประชุม คุณ พาทิศ ศุภะพงษ์ รองเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศ และ โฆษกสมาคมฯ กล่าวว่า “เราต้องการแลกเปลี่ยนความรู้และศึกษาจากสมาคมฯ และทีมชาติชั้นนำ

ที่มีการวางแผนโปรแกรม พัฒนาทีมชาติในแต่ละชุด รุ่นอายุ เช่น ในเรื่องการวางโปรแกรมระยะยาวสำหรับทีมชาติในทุกช่วงอายุ จำนวนเกมที่ควรจะต้องมีอย่างน้อย

ทั้งแมตช์ในประเทศ หรือต่างประเทศ ในการเข้าแคมป์ในแต่ละช่วงอายุ ควรจะมีระยะเวลาเท่าไหร่ และเล่นกี่แมตช์ในแต่ละปี”

“เรื่องของการจัดการแข่งขัน ทีมชาติชุดใหญ่ควรที่จะออกไปกี่ครั้ง เล่นในบ้านกี่ครั้ง ต้องนึกถึงพิจารณาจากอะไรบ้าง ควรจะมีคณะกรรมการตัดสินเลือก แมตช์จะเลือกเล่นกับใคร อย่างไร

ในการเตรียมฟีฟ่าแรงกิ้ง ทางเกาหลีใต้เปนประเทศหนึ่งที่อยากจะแลกเปลี่ยนความรู้ และอยากทราบแนวทางของเขา เขาได้แนะนำรูปแบบของการจัดการแข่งขัน จะติดต่อโดยตรงกับสมาคม

จะได้ข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ติดต่อผ่านทางบุคคล หรือ เอเย่นต์ ที่จัดการแข่งขันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และใช้ในโอกาสอะไรบ้าง”

“การฝึกเด็กในแต่ละช่วงอายุจะใช้เวลา วันกี่วัน เช่นรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี ก็จะเก็บตัวกันไม่เกิน 50 วัน ต่อปี ในส่วนของการแข่งขันในระดับต่างประเทศจะไม่เกิน 4 ครั้ง ซึ่งเกาหลีใต้ เขาทำแบบนี้ ครั้งต่อไป

เราจะได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอื่นๆ มาแลกเปลี่ยนบ้าง เพราะเราจะได้รู้ว่าในแต่ละประเทศเขาทำกันอย่างไร”

“นอกจากนี้ฝ่ายเทคนิคเกาหลีใต้ มีบุคลากรด้านใดบ้าง อาทิ เขาก็จะมีแผนกทีมชาติ ซึ่งเราได้ทราบว่าแผนกเขามีคนกี่คน ทำหน้าที่อะไรบ้าง ทีมชาติเดินทางไปแข่งขันต่างประเทศ เขาต้องทำอะไรบ้าง

การแลกเปลี่ยนความรู้นำมาปรับใช้ อันไหนดีแล้ว อันไหนเท่าเขา หรืออันไหนเราต้องเพิ่มเติม”

เครดิต : Fair